วิธีเลือกซื้อรถยนต์สำหรับมือใหม่ ต้องรู้อะไรบ้าง?

วิธีเลือกซื้อรถยนต์สำหรับมือใหม่ ต้องรู้อะไรบ้าง?

การซื้อรถยนต์คันแรกเป็นก้าวสำคัญในชีวิตของหลายคน แต่สำหรับมือใหม่ การตัดสินใจเลือกซื้อรถสักคันอาจเป็นเรื่องยาก ซึ่งต้องอาศัยการศึกษารายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อรถยนต์ สมรรถนะเครื่องยนต์ ราคา และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ดังนั้นบทความนี้เราจะขอแนะนำวิธีเลือกซื้อรถยนต์สำหรับมือใหม่ เพื่อให้การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์คันแรกคุ้มค่ามากที่สุด

มือใหม่หัดซื้อรถ ต้องรู้อะไรบ้าง?

  • งบประมาณ: กำหนดงบประมาณที่คุณสามารถจ่ายได้ทั้งค่ารถและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าน้ำมัน ค่าประกันรถยนต์ ค่าบำรุงรักษาต่างๆ
  • ค่าผ่อนรถต้องไม่เกิน 20-30% ของรายได้: หากคุณไม่ได้ซื้อรถยนต์ด้วยเงินสด แนะนำให้คำนวณงวดผ่อนจากรายได้ที่มี ซึ่งไม่ควรเกิน 20-30% ของรายได้ในแต่ละเดือน
  • วัตถุประสงค์ของการใช้งาน: พิจารณาว่าคุณต้องการใช้รถเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น ขับไปทำงานในเมืองทุกวัน ขับรถทางไกลเป็นประจำ ใช้สำหรับขนของไปขาย เพื่อจะได้เลือกรถยนต์ให้ถูกประเภท ว่าจะเป็นรถประหยัดน้ำมัน รถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะ รถตู้ ฯลฯ
  • ขนาดรถ: เลือกขนาดรถที่เหมาะสมกับการใช้งานและพื้นที่จอดรถ เช่น รถเล็ก เหมาะสำหรับการขับในเมือง ประหยัดน้ำมัน จอดง่าย รถขนาดกลาง เหมาะสำหรับครอบครัวเล็ก ใช้งานได้หลากหลาย รถขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับครอบครัวใหญ่ หรือต้องการพื้นที่บรรทุกมาก 
  • ประสิทธิภาพการใช้น้ำมัน: คำนึงถึงอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณใช้รถเป็นประจำ ควรพิจารณาปัจจัยนี้ร่วมกับความต้องการใช้งานและงบประมาณของคุณเพื่อการตัดสินใจที่คุ้มค่าที่สุด
  • ความปลอดภัย: ความปลอดภัยควรเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อรถยนต์ โดยเฉพาะสำหรับผู้ขับขี่มือใหม่ ควรพิจารณาระบบความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น ระบบถุงลมนิรภัย ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถยนต์ (ESC) ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (ABS) ระบบช่วยเตือนจุดอับสายตา (Blind Spot Monitoring) 

สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนซื้อรถยนต์

นอกจากเตรียมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถยนต์ ศึกษาข้อมูลรถยนต์ที่คุณสนใจแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนซื้อรถยนต์ มีดังต่อไปนี้

1. เอกสารส่วนตัว

เอกสารส่วนตัวสำหรับซื้อรถยนต์ หลักๆ จะมีดังนี้

กรณีเป็นพนักงานประจำ

  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 3 ใบ
  • สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน ถ้าหากไม่มีให้ใช้ใบรับรองเงินเดือน
  • สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน

กรณีประกอบอาชีพอิสระ

  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 3 ใบ
  • ใบเสร็จ ใบส่งของ หลักฐานการซื้อขายทุกรายการ
  • รูปถ่ายหน้าร้าน ใบเสร็จค่าเช่าที่ หรือภาพแสดงหลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ภาพร้านใน Facebook, Instagram, TikTok
  • รายการเดินบัญชี (Statement) ย้อนหลัง 6 เดือน – 1 ปี  

2. เงินดาวน์ 

เตรียมเงินดาวน์ให้พร้อมอย่างน้อย 15-20% ของราคารถ ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้การบริหารการเงินในระยะยาวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

3. ใบขับขี่

การมีใบขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินการก่อนการซื้อรถยนต์

ประเภทของรถยนต์มีอะไรบ้าง เลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การเลือกรถยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนซื้อ ปัจจุบันมีรถยนต์หลากหลายประเภทให้เลือก แต่ละประเภทมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน หลัก ๆ ที่นิยมใช้งานกัน เช่น

1. รถเก๋ง (Sedan)  

ลักษณะ: มี 4 ประตู ห้องโดยสารและห้องเก็บสัมภาระแยกกัน 

เหมาะสำหรับ: การใช้งานในเมือง ครอบครัวขนาดเล็ก 

ข้อดี: นั่งสบาย ประหยัดน้ำมัน ขับขี่สะดวก จอดง่าย 

ข้อจำกัด: พื้นที่เก็บของจำกัด ไม่เหมาะกับการบรรทุกของชิ้นใหญ่

2. รถแฮทช์แบ็ก (Hatchback) หรือ รถเก๋ง 5 ประตู

ลักษณะ: คล้ายรถเก๋งแต่มีช่วงท้ายที่สั้นและตัดตรง สามารถเปิดฝาท้ายได้ เบาะหลังพับได้

เหมาะสำหรับ: รถครอบครัว เน้นประโยชน์ใช้สอย ต้องการพื้นที่เก็บของเพิ่มเติม 

ข้อดี: ประหยัดน้ำมัน คล่องตัว สามารถปรับพื้นที่เก็บของได้ 

ข้อจำกัด: สิ้นเปลืองน้ำมัน

3. รถ SUV (Sport Utility Vehicle)

ลักษณะ: รถอเนกประสงค์ ขนาดใหญ่ สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 5 – 7 ที่นั่ง พื้นที่สูง ล้อใหญ่

เหมาะสำหรับ: ครอบครัวขนาดกลางถึงใหญ่ ชอบเดินทางไกล ต้องการความอเนกประสงค์ในการใช้รถ

ข้อดี: พื้นที่กว้าง สมรรถนะดี เหมาะกับการเดินทางหลากหลายสภาพถนน

ข้อจำกัด: สิ้นเปลืองน้ำมัน และจอดยากในพื้นที่จำกัด

4. รถ MVP (Most Valuable Player) 

ลักษณะ: รถยนต์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายรถตู้ นั่งได้ประมาณ 6 – 11 คน ห้องโดยสารภายในกว้างขวาง ที่นั่งปรับเปลี่ยนได้หลายรูปแบบ ประตูสไลด์ด้านข้าง ความสูงมากกว่ารถยนต์ทั่วไป 

เหมาะสำหรับ: ครอบครัวใหญ่ มีเด็กเล็กหรือผู้สูงวัย หรือการใช้งานเชิงธุรกิจ ชอบเดินทางไกล    

ข้อดี: สามารถบรรทุกผู้โดยสารและสัมภาระจำนวนมาก มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ความสะดวกสบายสำหรับการเดินทางไกล ระบบความปลอดภัยที่ครบครัน

ข้อจำกัด: ราคาสูง จอดยากในพื้นที่จำกัด

5. รถตู้ (Van) 

ลักษณะ: ขนาดรถใหญ่ พื้นที่ภายในกว้างขวาง ประตูด้านข้างแบบเลื่อน ที่นั่งหลายแถว  

เหมาะสำหรับ: ครอบครัวขนาดใหญ่ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า เช่น การขนส่งผู้โดยสารหรือสินค้า 

ข้อดี: บรรทุกผู้โดยสารได้ 10 – 15 คน พื้นที่ภายในกว้างขวาง ปรับเปลี่ยนได้ เหมาะสำหรับการเดินทางไกล ดัดแปลงเพื่อการพาณิชย์ได้หลากหลาย

ข้อจำกัด: ขนาดใหญ่ ยากต่อการจอดในพื้นที่จำกัด สิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่ารถยนต์ทั่วไป ความคล่องตัวในการขับขี่น้อยกว่า ราคาและค่าบำรุงรักษาค่อนข้างสูง

6. รถกระบะ (Pickup Truck)

ลักษณะ: มีกระบะท้ายสำหรับบรรทุกของแยกกับห้องโดยสาร

เหมาะสำหรับ: ธุรกิจขนส่ง เกษตรกร ผู้ต้องการใช้งานเชิงพาณิชย์

ข้อดี: บรรทุกของได้มาก แข็งแรงทนทาน

ข้อจำกัด: ไม่เหมาะกับการใช้งานในเมืองแออัด

7. รถคูเป้ (Coupe)

ลักษณะ: รถสปอร์ต 2 ประตู ดีไซน์สปอร์ต โฉบเฉี่ยว

เหมาะสำหรับ: ผู้ชื่นชอบความเร็ว สมรรถนะสูง

ข้อดี: สมรรถนะดี ดีไซน์สวยงาม

ข้อจำกัด: ที่นั่งจำกัด ไม่เหมาะกับการใช้งานเป็นครอบครัว ท้ายรถจุสัมภาระได้น้อย

ซื้อรถยนต์แล้วจะมีค่าใช้จ่ายอะไรตามมาบ้าง

  • ค่าผ่อนรถ: ขึ้นอยู่กับเงินดาวน์ ผ่อนกี่งวด ดอกเบี้ยกี่เปอร์เซ็นต์ ยิ่งดาวน์มาก ยิ่งผ่อนน้อยลง และมีโอกาสได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าด้วย
  • ค่าประกันภัยรถยนต์: มีให้เลือกทั้งประกันรถชั้น1 ประกันชั้น2 และประกันชั้น3 โดยส่วนใหญ่แล้วหากเป็นรถใหม่ป้ายแดงหรือรถคันแรก แนะนำให้ทำประกันชั้น1 เนื่องจากเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุมมากที่สุด 
  • ค่าภาษีรถประจำปี: ค่าพ.ร.บ.ของรถแต่ละรุ่นจะราคาไม่เท่ากัน สามารถตรวจสอบได้ ที่https://eservice.dlt.go.th/esvapp/esv/ebk/esv02q002 
  • ค่า พ.ร.บ.: สามารถตรวจสอบได้ที่ https://www.dlt.go.th/th/dlt-knowledge/106
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ: เช่น ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษารถยนต์ ค่าแต่งรถ ค่าล้างรถ ค่าที่จอดรถ

บัตรกดเงินสดยูเมะพลัสเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการตัวช่วยจัดการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ ทั้งในการใช้เงินสดผ่อนค่างวดรถยนต์ในสถานการณ์จำเป็น ทำให้คุณไม่ต้องผิดนัดชำระ รวมไปถึงค่าซ่อมบำรุงรถยนต์ ค่าประกันภัยรถยนต์ และอื่นๆ ด้วยสิทธิพิเศษสำหรับการเบิกถอนเงินสดในอัตราดอกเบี้ยพิเศษเริ่มต้นเพียง 19.8% ต่อปี พร้อมกดเงินสดในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นานถึง 30 วัน* สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถสมัครบัตรกดเงินสดยูเมะพลัสได้ผ่านช่องทางออนไลน์ที่  https://www.umayplus.com/cashcard/applyform หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2695-0000

หมายเหตุ:

*เพียงมียอดเบิกถอนเงินสดภายใน 30 วันหลังจากได้รับการอนุมัติ (เฉพาะยอดเบิกถอนภายในวันแรก สำหรับลูกค้าใหม่) หลังจบรายการส่งเสริมการขายอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยปกติ 19.8% – 25% ต่อปี, ดูเงื่อนไขได้ที่เว็บไซต์ยูเมะพลัส, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า